เคล็ดลับช่างแอร์ ปลอดภัยจากแอร์

เคล็ดลับช่างแอร์ ปลอดภัยจาก แอร์ระเบิด คอมเพรสเซอร์ระเบิด
ข่าวอุบัติเหตุ แอร์ระเบิด กันอยู่บ่อยๆ สาเหตุส่วนใหญ่ (เครื่องปรับอากาศระเบิด)
มักจะเกิดจากความประมาท ไม่ระมัดระวัง และการเลือกใช้อุปกรณ์ผิดประเภท
โดยอาจจะรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ทำให้เรามักจะเห็นข่าว ช่างแอร์ ต้องสูญเสียอวัยวะ
หรือเลวร้ายที่สุดถึงขั้นเสียชีวิต เราไม่ต้องการเห็นการสูญเสีย เรามี 4 เคล็ดลับช่างแอร์ มาฝากที่จะทำให้ช่างแอร์ปลอดภัยจากอุบัติเหตุ แอร์ระเบิดในการทำงานได้

  1. อย่าใช้ความร้อนกับท่อแอร์ทั้งที่ยังมีแรงดันในระบบ
    สำหรับงานซ่อมถอดท่อทองแดง หรือ เชื่อมเพื่ออุดรอยรั่ว
    ถ้าไม่ได้ทำการปล่อยน้ำยาออกจากระบบทั้งหมด แล้วนำเอาเปลวเชื่อมแก็สให้ความร้อนกับท่อ
    ทำให้แรงดันน้ำยาในระบบขยายตัวมากขึ้น เกิดเป็นแรงดันที่สูงขึ้นมากจนในที่สุดก็เกิดระเบิดขึ้นได้
  2. อย่าอัดแรงดันอ๊อกซิเจนเข้าไปในระบบ เครื่องปรับอากาศ
    การอัดแรงดันอ๊อกซิเจนเป็นสิ่งต้องห้าม เพราะโดยปกตินั้นแม้ออกซิเจน
    ไม่มีคุณสมบัติเป็นสารติดไฟได้โดยตรง แต่อ๊อกซิเจนก็มีคุณสมบัติช่วยให้การลุกไหม้
    ให้เกิดขึ้นได้ดีมากขึ้น ยิ่งความบริสุทธ์ของอ๊อกซิเจนสูงเท่าไหร่ก็ยิ่งลุกไหม้ได้ดีมากขึ้น
    และนำอ๊อกซิเจนที่ใช้ในงานเชื่อมโลหะ ก็มีความบริสุทธิ์ที่สูงเกินกว่า 90% เมื่อมันถูกอัดเข้าไปในระบบท่อแอร์ก็จะเข้าไปผสมกับน้ำมันคอมเพรสเซอร์
    ที่มีอยู่ในระบบกลายเป็นส่วนผสมที่พร้อมจะระเบิดขึ้นอย่างรุนแรงทันที
  3. อย่าวางถังน้ำยาแอร์ตากแดดเป็นเวลานาน ๆ
    และการใช้ถังบรรจุที่ไม่เหมาะสม การวางถังน้ำยาแอร์ไว้กลางแจ้ง ตากแดดร้อน ๆ
    เป็นเวลานานต่อเนื่องทำให้เกิดความร้อนสะสมส่งผลให้สารทำความเย็นภายในถังมีอุณหภูมิสูงขึ้น
    และเกิดการขยายตัวตามอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น และทำให้แรงดันน้ำยาภายในถังสูงตามขึ้นไปด้วย ซึ่งถ้าหากถังใบนั้นมีปริมาณน้ำยาแอร์อยู่ภายในมากพอการขยายตัวที่เกิดขึ้นต่อเนื่อง
    ก็อาจทำให้ถังมันระเบิดออกมาได้
  4. อย่าอัดแรงดันไนโตรเจนโดยไม่ผ่านอุปกรณ์ควบคุม (เรกูเลเตอร์)
    ทุกครั้งที่อัดไนโตรเจน ต้องผ่านเรกูเลเตอร์ทุกครั้งเพราะแรงดันของไนโตรเจนอยู่ที่ 2,000 psi ซึ่งแรคกูเลเตอร์เป็นตัวควบคุมแรงดันไม่ให้แรงดันไนโตรเจนเข้าสู่ระบบมากจนเกินไป
    เพราะถ้าไม่ผ่านเรกูเลเตอร์จะให้เกิดการระเบิดขึ้นได้เพราะแรงดันที่มากเกินเข้าสู่ระบบ
    ตัวอย่างเช่น แต่การถ่ายไนโตรเจนมาสู่ถังน้ำยา โดยไม่มีการควบคุมแรงดันให้เหมาะสม
    ก็มีผลทำให้ถังน้ำยาเกิดระเบิดได้ เพราะถังน้ำยาแอร์ถูกออกแบบให้รองรับกับแรงดัน
    ของสารทำความเย็นเท่านั้น โดยทำขึ้นเพื่อรองรับแรงดันในระดับหลักร้อย PSI
    อย่างที่เราเคยบอกไปว่าแรงดันไนโตรเจนอยู่ที่ 2,000 psi แต่ถ้าหากนำไปใช้
    แบ่งบรรจุไนโตรเจนโดยที่ไม่มีการปรับแต่งแรงดันให้เหมาะสม เติมเข้าไปเรื่อย ๆ
    โดยที่ไม่ควบคุม เมื่อถังน้ำยารับแรงดันไม่ไหวก็จะระเบิดได้ในที่สุดได้เหมือนกัน

สรุป
ในงานติดตั้งหรือซ่อมบำรุงเครื่องปรับอากาศ
ช่างติดตั้งจะต้องมีความรู้และความเข้าใจอย่างถูกต้อง
ตระหนักถึงเรื่องความปลอดภัย ไม่ประมาท หลีกเลี่ยงการกระทำที่มีความเสี่ยง
ต่อการก่อให้เกิดอุบัติเหตุ เพื่อเป็นการป้องกัน และลดอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้น
ในระหว่างปฏิบัติงาน 4 เคล็ดลับในบทความนี้จะเป็นประโยชน์ให้
ช่างแอร์ ไม่มากก็น้อย เราจะได้ไม่ต้องได้ยินข่าวเพื่อนร่วมอาชีพ ต้องสูญเสียกันอีกต่อไป

ด้วยความปรารถนาดีจาก: โปรแอร์ เซอร์วิส
ข้อมูลแหล่งที่มา : SANGCHAI Group

คำนวณโดยใช้สูตรพื้นที่ห้อง
BTU = [กว้าง(เมตร) x ยาว(เมตร)] x ตัวแปร
ตัวแปร
700 สำหรับ ห้องนอนปกติ
800 สำหรับ ห้องนอนโดนแดด
800 สำหรับ ห้องทำงาน ปกติ
900 สำหรับ ห้องทำงาน โดนแดด
950 – 1,100 สำหรับร้านอาหาร ร้านทำผม มินิมาร์ท ร้านค้า สำนักงาน
1,000 – 1,200 สำหรับร้านอาหาร ร้านทำผม มินิมาร์ท ร้านค้า สำนักงาน
1,100 – 1,500 ห้องประชุม ห้องสัมมนา ร้านอาหารสุกี้/ชาบู/ปิ้งย่างที่มีหม้อต้มหรือเตาความร้อนสูง
หรือห้องที่มีจำนวนคนต่อพื้นที่เยอะกว่าปกติหลายเท่า
ตัวอย่างการคำนวณ
ห้องนอนไม่ค่อยโดดแดด กว้าง 6 เมตร, ยาว 5 เมตร
BTU = [6 เมตร x 5 เมตร] x 700
= 30 ตารางเมตร x 700
= 21,000 => 24,000

ปัจจัยที่ควรพิจารณาเพิ่มเติม
ทิศทางที่แดดส่องหรือทิศที่ตั้งของห้อง
วัสดุหลังคามีฉนวนกันความร้อนหรือไม่
ความสูงระหว่างพื้นกับเพดานห้อง
ขนาดของประตูหรือหน้าต่างกระจก
ความถี่ในการเปิด/ปิดประตู เข้า/ออก
จำนวนคนที่อยู่ภายในห้อง
จำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้าในห้อง อาทิ คอมพิวเตอร์ ตู้เย็น ไมโครเวฟ เตาอบ อื่นฯ

ทำไม ” เราเราต้องเลือกแอร์ “เครื่องปรับอากาศ” ให้พอดีกับขนาดห้อง
เราเลือก ขนาดบีทียู BTU.ใหญ่ เกินไป
คอมเพรสเซอร์ตัดบ่อย สิ้นเปลือง พลังงาน
พลังงาน ความชื้นใน ห้องสูง อาจทำให้ ร่างกาย ไม่สบายตัว
ราคาเครื่องปรับอากาศสูง และทำให้ ค่าติดตั้ง เครื่องปรับอากาศสูง
เราเลือกแอร์ “เครื่องปรับอากาศ” บีทียู BTU.เล็กเกินไป
คอมเพรสเซอร์ ทำงานตลอดเวลา สิ้นเปลืองพลังงาน
สิ้นพลังงานไฟฟ้า อายุการใช้งานสั้น ห้องไม่เย็น หรือเย็นช้า
ปัจจัย ที่ควรพิจจารณาเพิ่มเติมในการเลือก “เครื่องปรับอากาศ” ขนาดของ บีทียู BTU.
จำนวน และขนาดของหน้าต่าง ภายในห้อง
ทิศที่ แดดส่อง ถึง หรือทิศที่ตั้งของห้องนั้นๆ
วัสดุ หรือหลังคา บ้านนั้นๆมี ฉนวน กันความร้อนหรือไม่
จำนวน คนที่ใช้ เครื่องปรับอากาศ ภายในห้องนั้นๆ
จำนวนประเภท ของเครื่องใช้ไฟฟ้า ภายในห้องนั้นๆ
รายละเอียดและปัจจัย อื่นๆเพิ่มเติมสอบถามเจ้าหน้าที่ ของเราโดยตรง
ทางร้าน ยินดีให้คำปรึกษา หรือ สอบถามทาง ไลท์ Line: @pcair เรายินดีให้บริการ