สตาร์แอร์ STAR-AIR
รุ่น Model | บีทียู | SEER | ปกติ | ราคาขาย |
---|---|---|---|---|
DE09/CE09 | 9,280 | 12.24 | 25,900 | 13,500 |
DE12/CE12 | 12,859 | 12.13 | 28,900 | 14,500 |
DE18/CE18 | 18,083 | 12.11 | 31,900 | 20,500 |
DE24/CE24 | 25,363 | 12.15 | 36,900 | 25,500 |
คำนวณบีทียูแอร์ เรามักได้ยินและคุ้นเคยกับคำว่า บีทียู อยู่เสมอสำหรับคนที่ ต้องการติดตั้งแอร์ อีกทั้งมักมีการพูดอยู่บ่อย ๆ ว่าเวลาจะเลือก ติดตั้งแอร์ ต้องเลือก บีทียู ให้เหมาะสมกับขนาดพื้นที่ด้วยจะได้ไม่ต้องเปลืองไฟ จนเกิดเป็นคำถามขึ้นมาว่า บีทียู มันคืออะไรกันแน่ แล้วเราจะมีวิธีในการ คำนวณบีทียูแอร์ อย่างไรเพื่อให้เหมาะสมกับขนาดพื้นที่ที่ต้องการ ติดตั้งแอร์ ลองมาดูวิธีคำนวณไปพร้อมกัน ที่สำคัญอย่าลืมแชร์ให้เพื่อนๆ รู้ด้วย
ความหมายของ บีทียู – หรือ British Thermal Unit (BTU) เป็นหน่วย ประเภท หนึ่งสำหรับการใช้วัดปริมาณความร้อน ส่วนใหญ่ แล้วมักนำมาใช้กับ ระบบของแอร์ หากเทียบกับหน่วยสากลแล้วมันก็คือ จูล หรือแคลอรี นั่นเอง สำหรับ ความร้อนระดับ 1 BTU หมายถึง ระดับความร้อนที่ส่งผลให้น้ำระดับ 1 ปอนด์ จะมีอุณหภูมิลดลงหรือเพิ่มขึ้น 1 องศาฟาเรนไฮต์ ซึ่งเมื่อมีการนำมาใช้กับแอร์หมายถึงระบบของ แอร์ จะทำการดึงเอาความร้อนหรือ วัดระดับของความเย็น ในพื้นที่ที่ติดตั้งออกไปเพื่อให้อากาศ ถ่ายเท ได้คงที่มากที่สุดนั่นเอง
สูตร คำนวณบีทียูแอร์ คำถามที่หลายคนตั้งข้อสงสัยคือแล้ว ขนาดห้องของเรา ควรต้องใช้แอร์จำนวนกี่บีทียู เรื่องนี้จริง ๆ แล้วมันมีหลาย ปัจจัย เข้ามาเกี่ยวข้อง แต่จะขอ อธิบายสูตรการ คำนวณบีทียู ให้เข้าใจกันก่อนเผื่อว่าต้องการจะนำไป คำนวณ เพื่อวัดหาค่าสำหรับ ติดตั้งแอร์ สูตรนี้เข้าใจไม่ยาก
สูตรคำนวณบีทียู แอร์ คำถามที่หลายคนตั้งข้อสงสัยคือแล้ว ขนาดห้องของเรา ควรต้องใช้แอร์จำนวนกี่บีทียู เรื่องนี้จริง ๆ แล้วมันมีหลาย ปัจจัย เข้ามาเกี่ยวข้อง แต่จะขอ อธิบายสูตรการ คำนวณบีทียู ให้เข้าใจกันก่อนเผื่อว่าต้องการจะนำไป คำนวณ เพื่อวัดหาค่าสำหรับ ติดตั้งแอร์ สูตรนี้เข้าใจไม่ยาก
ค่า BTU = พื้นที่ของห้อง (ขนาดกว้าง x ยาว) x ระดับความแตกต่าง
สูตรนี้มีคำอธิบายเพิ่มเติมคือ พื้นที่กว้าง x ยาว ของห้องจะใช้หน่วยเป็นเมตร เมื่อ x กันออกมาก็จะได้เป็นตารางเมตรจากนั้นเอาไป x กับระดับความแตกต่าง ระดับความแตกต่าง – คือ ระดับความร้อน ในช่วง เวลากลางวัน และ กลางคืน ที่แตกต่างกัน โดยค่าของระดับความต่างแบ่งได้ออกเป็น 2 ประเภท คือ
ห้องที่ใช้เฉพาะเวลากลางคืน มีความร้อนน้อย ระดับความต่างประมาณ 700
ห้องที่ใช้ตอนกลางวันบ่อย ๆ มีอัตราความร้อนสูง ระดับความต่างประมาณ 800
BTU | ห้องนอน | โดนแดด | ทำงาน | โดนแดด |
---|---|---|---|---|
9,000 | 9-14ตรม | 9-12ตรม | 9-12ตรม | 9-10ตรม |
12,000 | 14-20ตรม | 14-18ตรม | 14-18ตรม | 14-16ตรม |
15,000 | 18-24ตรม | 18-22ตรม | 18-22ตรม | 16-20ตรม |
18,000 | 24-28ตรม | 24-26ตรม | 24-26ตรม | 22-24ตรม |
25,000 | 28-36ตรม | 28-34ตรม | 28-34ตรม | 24-32ตรม |
ตัวอย่างการคำนวณง่าย ๆ คือ สมมุติว่าห้องนอนของคุณมีพื้นที่กว้าง 3 ม. ยาว 5 ม. ใช้แอร์ตอนกลางวันเป็นประจำ เมื่อแทนสูตรก็จะได้ (3 x 5) x 800 = 12,000 นั่นหมายความว่าห้องนอนของคุณควรใช้แอร์ที่ระดับ 12,000 BTU
คำนวณโดยใช้สูตรพื้นที่ห้อง
BTU = [กว้าง(เมตร) x ยาว(เมตร)] x ตัวแปร
ตัวแปร
700 สำหรับห้องนอนปกติ
800 สำหรับห้องนอนโดนแดด
800 สำหรับห้องทำงาน ปกติ
900 สำหรับห้องทำงาน โดนแดด
950 – 1,100 สำหรับร้านอาหาร ร้านทำผม มินิมาร์ท ร้านค้า สำนักงาน
1,000 – 1,200 สำหรับร้านอาหาร ร้านทำผม มินิมาร์ท ร้านค้า สำนักงาน
1,100 – 1,500 ห้องประชุม ห้องสัมมนา ร้านอาหารสุกี้/ชาบู/ปิ้งย่างที่มีหม้อต้มหรือเตาความร้อนสูง
หรือห้องที่มีจำนวนคนต่อพื้นที่เยอะกว่าปกติหลายเท่า
ตัวอย่างการคำนวณ
ห้องนอนไม่ค่อยโดดแดด กว้าง 6 เมตร, ยาว 5 เมตร
BTU = [6 เมตร x 5 เมตร] x 700
= 30 ตารางเมตร x 700
= 21,000 => 24,000
ปัจจัยที่ควรพิจารณาเพิ่มเติม
ทิศทางที่แดดส่องหรือทิศที่ตั้งของห้อง
วัสดุหลังคามีฉนวนกันความร้อนหรือไม่
ความสูงระหว่างพื้นกับเพดานห้อง
ขนาดของประตูหรือหน้าต่างกระจก
ความถี่ในการเปิด/ปิดประตู เข้า/ออก
จำนวนคนที่อยู่ภายในห้อง
จำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้าในห้อง อาทิ คอมพิวเตอร์ ตู้เย็น ไมโครเวฟ เตาอบ อื่นฯลฯ
กระนั้นอีกสิ่งที่บอกไว้ว่ายังมีปัจจัยอื่น ๆ ด้วย เช่น คนที่อยู่ในห้องนั้น, การโดนแสงแดด, ระดับความร้อนภายในห้อง เป็นต้น ซึ่งวิธีคำนวณบีทียู เป็นวิธีคร่าว ๆ เพื่อจะได้รู้ระดับที่ เหมาะสม ก่อนแล้วจึงค่อย พิจารณา ปัจจัยอื่นร่วมด้วยอีกที การคำนวณ ขึ้นอยู่ปัจจัยหลายๆอย่างร่วมด้วย