รู้อย่างไรว่าควรล้างแอร์ ?
รู้อย่างไรว่าควรล้างแอร์ เรามาดูกันเลยว่าถึงเวลาเราจะล้างแอร์หรือยัง
เราจะ รู้อย่างไรว่าควรล้างแอร์ ภายในบ้านเรา หรือ เครื่องปรับอากาศ
มลภาวะทางอากาศบ้านเรา ณ ปัจจุบันนี้ เต็มไปด้วยฝุ่นละออง ควันพิษ มากขึ้นทุกๆวัน
ซึ่งปัจจัยหลักๆ ในการ ล้างแอร์ บ่อยๆ นั้น สรุปได้ มีดังนี้
ปัจจัยหนึ่งก็คือเราเปิดใช้งานแอร์ตัวนั้นบ่อยครั้งและนานแค่ไหน ยิ่งเปิดบ่อยๆ หรือเปิดนาน ก็ยิ่งต้องล้างแอร์บ่อยครั้งขึ้นเท่านั้น เพราะขณะที่ แอร์ กำลังทำงาน จะมีการดูดอากาศเข้าไปภายในตัวเครื่องเพื่อหมุนเวียนแล้วพ่นลมเย็นออกมา ทำให้มีฝุ่นละอองและสิ่งสกปรกเข้าไป แล้วไปหมัก หมุมอยู่ภายในตัวเครื่องและจะทำให้ระบายความเย็นได้ไม่ดีเท่าที่ควร เราจึงลดองศาแอร์และเพิ่มแรง ลมแอร์ทำให้แอร์ทำงานหนักและกินไฟเพิ่มขึ้น
อีกปัจจัยหนึ่งก์คือตำแหน่งที่อยู่อาศัยของท่าน ถ้าหากอยู่ติดถนน
หรือยู่ในบริเวณที่มีฝุ่นละอองมาก เช่น บริเวณที่กำลังมีการก่อสร้าง ก็จำเป็นต้องล้างแอร์ บ่อยครั้งขึ้นตามปริมาณฝุ่นละออง (สังเกตง่ายๆ ถ้าด้านหลังของคอยล์ร้อนเริ่มมีฝุ่นจับมากก็ควรล้างทันที อย่าปล่อยให้อุดตัน จนอากาศไหลเวียนไม่สะดวก) มีสัตว์เลี้ยง ขนปุกปุย และเส้นผม
เข้าไปอุดตัน ก็เป็นอีกสาเหตุ ที่ต้องทำให้ล้างแอร์เพิ่มขึ้น
วิธีแก้ปัญหาท่อตันของ แอร์บ้าน
แอร์บ้านเมื่อใช้ไปนานๆ ก็อาจจะเกิดการอุดตันในระบบท่อน้ำทิ้งก็เป็นได้เพราะตัวแอร์จะมีการดูดฝุ่นละอองและสิ่งสกปรกเข้าไปสะสมไว้ และถ้าหากมีมากขึ้นๆก็จะรวมตัวกับหยดน้ำทำให้เกิดเป็นเมือกขึ้นมาและก็เป็นสาเหตุของอาการท่อตัน ซื่งอาการแบบนี้ท่อหาก ล้างแอร์แล้วไม่หายแสดงว่า ช่างแอร์ ไม่ยอมฉีดน้ำจากปั๊มน้ำแรงดันสูง เข้าไปที่ท่อน้ำทิ้งแอร์ดังนั้นต้องแก้ไขด้วยการถอดถาดน้ำทิ้งแอร์ ออกมา และฉีดน้ำแรงดันสูงเข้าไปที่ท่อน้ำทิ้ง แอร์ ที่เกิดการอุดตัน
คำนวณโดยใช้สูตรพื้นที่ห้อง
BTU = [กว้าง(เมตร) x ยาว(เมตร)] x ตัวแปร
ตัวแปร
700 สำหรับ ห้องนอนปกติ
800 สำหรับ ห้องนอนโดนแดด
800 สำหรับ ห้องทำงาน ปกติ
900 สำหรับ ห้องทำงาน โดนแดด
950 – 1,100 สำหรับร้านอาหาร ร้านทำผม มินิมาร์ท ร้านค้า สำนักงาน
1,000 – 1,200 สำหรับร้านอาหาร ร้านทำผม มินิมาร์ท ร้านค้า สำนักงาน
1,100 – 1,500 ห้องประชุม ห้องสัมมนา ร้านอาหารสุกี้/ชาบู/ปิ้งย่างที่มีหม้อต้มหรือเตาความร้อนสูง
หรือห้องที่มีจำนวนคนต่อพื้นที่เยอะกว่าปกติหลายเท่า
ตัวอย่างการคำนวณ
ห้องนอนไม่ค่อยโดดแดด กว้าง 6 เมตร, ยาว 5 เมตร
BTU = [6 เมตร x 5 เมตร] x 700
= 30 ตารางเมตร x 700
= 21,000 => 24,000
ปัจจัยที่ควรพิจารณาเพิ่มเติม
ทิศทางที่แดดส่องหรือทิศที่ตั้งของห้อง
วัสดุหลังคามีฉนวนกันความร้อนหรือไม่
ความสูงระหว่างพื้นกับเพดานห้อง
ขนาดของประตูหรือหน้าต่างกระจก
ความถี่ในการเปิด/ปิดประตู เข้า/ออก
จำนวนคนที่อยู่ภายในห้อง
จำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้าในห้อง อาทิ คอมพิวเตอร์ ตู้เย็น ไมโครเวฟ เตาอบ อื่นฯ
BTU | ห้องนอน | โดนแดด | ทำงาน | โดนแดด |
---|---|---|---|---|
9,000 | 9-14ตรม | 9-12ตรม | 9-12ตรม | 9-10ตรม |
12,000 | 14-20ตรม | 14-18ตรม | 14-18ตรม | 14-16ตรม |
15,000 | 18-24ตรม | 18-22ตรม | 18-22ตรม | 16-20ตรม |
18,000 | 24-28ตรม | 24-26ตรม | 24-26ตรม | 22-24ตรม |
25,000 | 28-36ตรม | 28-34ตรม | 28-34ตรม | 24-32ตรม |
ทำไม ” เราเราต้องเลือกแอร์ “เครื่องปรับอากาศ” ให้พอดีกับขนาดห้อง
เราเลือก ขนาดบีทียู BTU.ใหญ่ เกินไป
คอมเพรสเซอร์ตัดบ่อย สิ้นเปลือง พลังงาน
พลังงาน ความชื้นใน ห้องสูง อาจทำให้ ร่างกาย ไม่สบายตัว
ราคาเครื่องปรับอากาศสูง และทำให้ ค่าติดตั้ง เครื่องปรับอากาศสูง
เราเลือกแอร์ “เครื่องปรับอากาศ” บีทียู BTU.เล็กเกินไป
คอมเพรสเซอร์ ทำงานตลอดเวลา สิ้นเปลืองพลังงาน
สิ้นพลังงานไฟฟ้า อายุการใช้งานสั้น ห้องไม่เย็น หรือเย็นช้า
ปัจจัย ที่ควรพิจจารณาเพิ่มเติมในการเลือก “เครื่องปรับอากาศ” ขนาดของ บีทียู BTU.
จำนวน และขนาดของหน้าต่าง ภายในห้อง
ทิศที่ แดดส่อง ถึง หรือทิศที่ตั้งของห้องนั้นๆ
วัสดุ หรือหลังคา บ้านนั้นๆมี ฉนวน กันความร้อนหรือไม่
จำนวน คนที่ใช้ เครื่องปรับอากาศ ภายในห้องนั้นๆ
จำนวนประเภท ของเครื่องใช้ไฟฟ้า ภายในห้องนั้นๆ
รายละเอียดและปัจจัย อื่นๆเพิ่มเติมสอบถามเจ้าหน้าที่ ของเราโดยตรง
ทางร้าน ยินดีให้คำปรึกษา หรือ สอบถามทาง ไลท์ Line: @pcair เรายินดีให้บริการ