เครื่องปรับอากาศทำงานอย่างไร

แอร์มิตซูบิชิ

เครื่องปรับอากาศทำงานอย่างไร เรามาดูกันว่า แอร์บ้าน หรือ เครื่องปรับอากาศ ทำงานกัน

หลังจากที่เราได้ศึกษา ความรู้เบื้องต้น (Basics) และ ประเภทของระบบปรับอากาศ มาแล้ว ทางร้าน จึงขออธิบายหลักการทำงาน ของ เครื่องปรับอากาศ ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายที่สุดใน บ้านพักอาศัย และอาคารสำนักงาน ขนาดเล็ก ซึ่งก็คือ ระบบอากาศทั้งหมด (All-air system)

แต่ก่อนที่เราจะเรียนรู้กลไกการทำงานของเครื่องปรับอากาศ เราควรทราบก่อนว่าส่วนประกอบที่สำคัญของ ระบบการทำการความเย็น (Refrigeration Cycle) มีอะไรบ้าง เราจะรูและทำความเข้าใจว่า เครื่องปรับอากาศทำงานอย่างไร

1) คอมเพรสเซอร์ (Compressor) ทำหน้าที่ขับเคลื่อนสารทำความเย็น หรือน้ำยา (Refrigerant) ในระบบ โดยทำให้ สารทำความเย็น มีอุณหภูมิ และความดันสูงขึ้น
2) คอยล์ร้อน (Condenser) ทำหน้าที่ ระบายความร้อน ของสารทำความเย็น
3) คอยล์เย็น (Evaporator) ทำหน้าที่ดูดซับ ความร้อนภายใน ห้องมาสู่สารทำความเย็น
4) อุปกรณ์ลดความดัน (Throttling Device) ทำหน้าที่ ลดความดัน และอุณหภูมิของสารทำความเย็น โดยทั่วไปจะใช้เป็น แค็ปพิลลารี่ทิ้วบ์ (Capillary tube) หรือ เอ็กสแปนชั่นวาล์ว (Expansion Valve)เครื่องปรับอากาศทำงานอย่างไร

ระบบการ ทำความเย็น ที่เรากำลังกล่าวถึงคือระบบอัดไอ (Vapor-Compression Cycle) ซึ่งมีหลัก การทำงาน ง่ายๆคือ การทำให้สารทำความเย็น (น้ำยา) ไหลวนไปตามระบบ โดยผ่าน ส่วนประกอบ หลักทั้ง 4 อย่างต่อเนื่องเป็น วัฏจักรการทำความเย็น (Refrigeration Cycle) โดยมีกระบวนการดังนี้

1) เริ่มต้นโดย คอมเพรสเซอร์ ทำหน้าที่ดูดและ อัดสารทำความเย็น เพื่อเพิ่มความดันและอุณหภูมิของน้ำยา แล้วส่งต่อเข้า คอยล์ร้อน คอมเพรสเซอร์แอร์
2) น้ำยาจะ ไหลวน ผ่าน แผงคอยล์ร้อน โดยมี พัดลมเป่า เพื่อช่วย ระบายความร้อน ทำให้น้ำยาจะที่ออกจาก คอยล์ร้อน มีอุณหภูมิ ลดลง (ความดันคงที่) จากนั้นจะถูกส่งต่อให้ อุปกรณ์ลดความดัน
3) น้ำยาที่ไหลผ่าน อุปกรณ์ ลดความดัน จะมีความดันและ อุณหภูมิที่ต่ำมาก แล้วไหลเข้าสู่คอยล์เย็น (หรือที่นิยมเรียกกันว่า การฉีดน้ำยา)
4) จากนั้น น้ำยา จะไหลวนผ่าน แผงคอยล์เย็น โดยมี พัดลมเป่า เพื่อช่วยดูด ซับความร้อนจากภายในห้อง เพื่อทำให้อุณหภูมิห้องลดลง ซึ่งทำให้น้ำยาที่ออกจาก คอยล์เย็น มีอุณหภูมิที่สูงขึ้น (ความดันคงที่) จากนั้นจะถูกส่งกลับเข้า คอมเพรสเซอร์ เพื่อทำการ หมุนเวียนน้ำยา ต่อไป

หลังจากที่เรารู้ การทำงาน ของ วัฏจักรการ ทำ ความเย็น แล้วก็พอจะสรุปง่ายๆได้ดังนี้
1) สารทำความเย็น หรือน้ำยา ทำหน้าที่เป็น ตัวกลางดูดเอา ความร้อนภายในห้อง (Indoor) ออกมานอกห้อง (Outdoor) จากนั้น น้ำยา จะถูก ทำให้เย็น อีกครั้งแล้วส่งกลับ เข้าห้อง เพื่อดูดซับความร้อนอีก โดยกระบวนการนี้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตลอดการทำงานของ คอมเพรสเซอร์
2) คอมเพรสเซอร์ เป็น อุปกรณ์ ชนิดเดียวในระบบที่ทำหน้าที่ ขับเคลื่อน น้ำยา ผ่านส่วนประกอบหลัก คือคอยล์ร้อน อุปกรณ์ลดความดัน และคอยล์เย็น โดยจะเริ่มทำงาน เมื่ออุณหภูมิภายในห้อง สูงเกินอุณหภูมิที่เราตั้งไว้ และจะหยุดทำงานเมื่อ อุณหภูมิภาย ในห้องต่ำกว่าอุณหภูมิที่เราตั้งไว้ ดังนั้น คอมเพรสเซอร์ จะเริ่ม และ หยุดทำงาน อยู่ตลอดเวลาเป็นระยะๆ เพื่อรักษาอุณหภูมิห้องให้ สม่ำเสมอ ตามที่เราต้องการ ปรับอุณภูมิภายในห้อง ปัจุบัน เครื่องปรับอากาศ ได้ถูกพัฒนา เพิ่มและทำให้ระบบ ประหยัดพลังงาน เพิ่มเติม ชึ่งปัจจุบัน เครื่องปรับอากาศ หลายๆยี่ห้อ เริ่มมีระบบเพิ่มเติมเข้ามา เรียกว่า ระบบ อินเวอร์เตอร์ inverter

กลับสู่หน้าหลัก>> Home โปรแอร์